วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2553

Go Play กับสนามเด็กเล่นโครงการ 2 – โรงเรียนบ้านท่าอาจ

“Play is an essential and integral part of all children’s healthy growth, development, and learning. Play is a dynamic process that develops and changes as it becomes increasingly more varied and complex. It is considered a key facilitator for learning and development across domains, and reflects the social and cultural contexts in which children live”.

(Isenberg, Quisenberry, 2002 http://www.udel.edu/bateman/acei/playpaper.htm)

ช่วงอยู่ที่แม่สอดปี 2009 ผมเคยรู้สึกชื่นชมโครงการสนามเด็กเล่นของอาสาสมัครต่างชาติกลุ่มเล็กๆกลุ่มหนึ่งที่ทำให้กับโรงเรียนเด็กต่างด้าว สนามที่เด็กๆเห็นแล้วต้องกรี๊ดกันแทบทุกคน สนามเด็กเล่นจากวัสดุธรรมชาติที่ออกแบบอย่างสร้างสรรค์ คอนเซปท์การทำงานที่เน้นความมือร่วมใจของโรงเรียนและอาสาสมัครจากที่ต่างๆ ที่ทุกคนมีส่วนร่วมในกระบวนการ “แบ่งปัน”

มันเป็นสนามเด็กเล่นที่เจ๋งที่สุดเท่าที่ผมเคยเห็นมา…จริงๆ

ตัวอย่างที่ Go Play เคยสร้าง http://www.youtube.com/watch?v=vGHrJURPcro

แทบกลับตาลปัตรกับภาพสนามเด็กเล่นในโรงเรียนไทยของเราโรงเรียนแล้วโรงเรียนเล่าที่ผมได้แวะผ่านไปเห็น ก็เข้าใจครับว่ามันคงไม่ได้สำคัญเท่ากับปัจจัยสี่อย่าง อาหาร หรือยารักษาโรค…สนามของเด็กเลยต้องเป็นความจำเป็นเร่งด่วนระดับท้ายๆ

เค้าว่าสนามเด็กเล่นเป็นสที่เสริมสร้างการเจริญเติบโต บ่มเพาะจินตนาการ และการเข้าร่วมสังคม

ผมกับเพื่อนอีกสองสามคน คือ เล็กกับน้องต้น ก็เลยคิดกันว่า ถ้าอยากใช้ช่วงเวลาที่เหลืออยู่ให้มีประโยชน์บ้าง สนามเด็กเล่นน่าจะเป็นสิ่งที่น่าลอง ได้แต่คิดแล้วไม่ทำก็คงไม่มีประโยชน์ ก็เลยเริ่มทำกันแบบมั่วๆไปก่อน เสร็จไปหนึ่งโครงการกับโรงเรียนบ้านทุ่งมะขามป้อม (ที่จริงน่ะอยากทำให้ได้แบบ Go Play Project เค้าทำ แต่ไม่มีปัญญา)

มาถึงโครงการที่สอง โรงเรียนบ้านท่าอาจ ช่วงกำลังจะเริ่มตอกเสาให้กับโรงเรียนอยู่รอมร่อ ก็พอดีมีข่าวดีจากเพื่อนในวงการคือป้าเพ็ญของเรา (Penny Thame) ไปได้ข่าวเรื่อง Go Play กำลังคัดเลือกโรงเรียนในประเทศไทยเพื่อจะใช้เป็น Ground สำหรับการประกวดการออกแบบสนามเด็กเล่นแนวคิดใหม่

โดยที่การประกวดนี้ถูกเปิดตัวขึ้นที่ประเทศออสเตรเลียโดยกลุ่มทางด้านการออกแบบที่ชื่อว่า AILA Fresh ร่วมกับ Go Play

โดยข้อกำหนดของการแข่งขันคร่าวๆก็มีอยู่ว่า

  • สร้างบนพื้นที่ 15x15 เมตร
  • ออกแบบโดยคำนึงถึงความปลอดภัยตามาตรฐานยุโรป
  • ต้องใช้วัสดุราคาถูกหรือหาได้เปล่าจากท้องถิ่น เช่น ยาง, ท่อนไม้, ท่อเหล็กทั่วไป และอื่นๆตามที่หาได้จากของรีไซเคิล
  • ออกแบบ (แต่ไม่จำเป็นต้องทุกชิ้น) สำหรับเด็กๆทุกวัยและทุกสภาพร่างกายรวมทั้งเด็กพิเศษ
  • การออกแบบต้องคำนึงถึงพัฒนาการของเด็กๆทุกด้าน เช่น เร็ว ช้า ดัง เบา ความคิดสร้างสรรค์ การสร้างกล้ามเนื้อ การสื่อสาร ปัญญา การแก้ปัญหา การแข่งขันและการร่วมมือ มิตรภาพ และการสันโดษ ความสนุก ความเป็นธรรมชาติ และอื่นๆอีกมากมาย (โอออ…สนามเด็กเล่นเทพ)

Go Play โดยจอห์และมาร์คัส บอกว่ามันจะเป็นสนามเด็กเล่นที่ดีที่สุดที่ Go Play เคยออกแบบมาเลยทีเดียว แต่มีข้อแม้ว่าทางผู้ส่งจะต้องหาทุนและหาแรงงานสำหรับการก่อสร้างทั้งหมดเอง โดย Go Play จะทำหน้าที่เป็นผู้ออกแบบและจัดการโครงการให้

ฟังแล้วก็ตาโตสิครับ โอกาสแบบนี้หาไม่ได้อีกแล้ว แม้ว่าจะต้องเปลี่ยนจาก มินิโปรเจคมาเป็นเมกกะโปรเจคก็ตาม มองยังไงก็คุ้ม เพราะสิ่งที่สำคัญที่จะได้ก็คือ ความรู้ และสนามเด็กเล่นต้นแบบ ที่พร้อมขยายผลต่อไปในอนาคตในโรงเรียนอื่นๆท่ต้องการ

และด้วยความช่วยเหลือสนับสนุนของหลายๆคน ผอ.โรงเรียน ที่ช่วยกันล็อบบี้ + สร้างภาพ ในที่สุดโรงเรียนบ้านท่าอาจของเราก็ได้รับเลือกมาจนได้ ต้องขอบคุณหน้าม้าทุกท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ ตอนนี้กำลังประกวดออกแบบกันอยู่ การก่อสร้างจะอยู่ในช่วงเดือน มกรา – กุมภา ปี 2011 อากาศกำลังหนาวๆ สงสัยจะได้หยุดงานออกไปใช้แรงงานอีกรอบซะแล้วสิ

เรายังต้องการความช่วยเหลืออีกเยอะครับ หากสนใจร่วมแบ่งปันติดต่อได้ที่ หนุ่ย 0818417480, kittiu@gmail.com